บทที่ 1
บทนำ
1. ความเป็นมาของโครงการ
ขนมไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยมานานหลายร้อยปี
คำว่า “ขนม” เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่ผสมกันคือ “ข้าวหนม” และ “ข้าวนม” ข้าวหนมนั้นเข้าใจว่าเป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อย
น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่าหวาน อย่างข้าวหนมก็แปลว่าข้าวหวาน
ต่อมาเรียกสั้นๆเร็วๆ ก็กลายเป็นขนมไป ส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม(ข้าวเคล้านม)
นั้นดูจะเป็นแขกๆอยู่สักหน่อย เพราะอาหารของแขกบางชนิดเขาใช้ข้าวผสมกับนมอย่างข้าวมธุปายาสของแขกโบราณ(ดังที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้นั้นก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม)
คำว่าขนมมีใช้มาหลายร้อยปีแล้วจะเป็นคำผสมของอะไรบ้างยากจะสันนิษฐานให้แน่นอนลงไปได้
แต่เดิมของที่เรียกว่าขนมในสมัยโบราณหรือในสมัยที่จะมีคำว่าขนมนั้นเห็นจะเป็นของที่เกิดจากการตำป่น(แป้ง)
แล้วผสมกับน้ำตาลสองสิ่งเท่านั้น นี่เป็นขนมรุ่นแรกๆของไทย
จึงเห็นว่าขนมไทยของเรานั้นมีการประยุกต์ดัดแปลงมาตลอดกาลเวลานับหลายร้อยปีจนกระทั่งปัจจุบัน
ขนมไทยจึงมีเสน่ห์และชวนแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จนปัจจุบันวัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติตะวันตกได้มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างมากจนทำให้ขนมไทยในปัจจุบันไม่ค่อยจะได้รับความนิยมสักเท่าใด
ทางคณะผู้จัดทำจึงแลเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์และสืบสานขนมไทยของเราให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
จึงได้จัดทำโครงงานในครั้งนี้ขึ้นมา
เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติและความเป็นมาของขนมไทยมาประยุกต์ทำเป็นขนมไทยชนิดใหม่ขึ้นมา
โดยศึกษาจากวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่มักจะใช้ในการทำขนมของไทย ผสมผสานดัดแปลงเป็นขนมชนิดใหม่
เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ขนมของไทยให้อยู่คู่กับชนชาติไทยสืบไป
2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1 เพื่อต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของขนมไทย
2.2 เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับดารทำขนมไทย
2.3 เพื่อต้องการสืบสานและอนุรักษ์ขนมไทยให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
3. ขอบเขตของโครงงาน
3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.2 หนังสือขนมไทย
ระบุเกี่ยวกับประวัติและกรรมวิธีในการทำขนมไทย
3.3 อุปกรณ์ประกอบการทำอาหาร
3.4 กล้องวีดิโอ เพื่อใช้ในการสร้างสื่อวีดีทัศน์
เพื่อสาธิตและเพื่อเผยแพร่ขั้นตอนในการทำขนม โดยใช้โปรแกรม Ulead
VideoStudio 11 ในการตัดต่อวีดีทัศน์
4. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
4.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของขนมไทยตั้งแต่อดีตจนกระทั้งปัจจุบัน
4.2
ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น