บทที่ 2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเรื่องขนมไทย
ผู้จัดทำโครงการได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น
เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ
เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น
ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย
ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม
ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ
เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี
กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมจากไข่
และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง
เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย
จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก
ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย
และนับว่าเป็นยุคที่ขนมไทยเป็นที่นิยม
2.1 การแบ่งประเภทของขนมไทย
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้
2.1.1 ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน
ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด
แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน
ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
2.1.2 ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง
บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์
บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน
สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
2.1.3 ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม
เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง
เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
2.1.4 ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด
เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด
ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
2.1.5 ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ
ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฎ
นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง
ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
2.1.6 ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม
ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น
นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร
นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก
และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง
ซ่าหริ่ม
2.2 วัตถุดิบในการทำขนมไทย
ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ
เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรรมชาติ
ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง
นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกว่างถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.2.1 ข้าวและแป้ง
การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด
ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู
พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า
ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่
กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไคม ส่ากนี้ แป้งที่ใช้ได้แก่]]
ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ
2.2.2 มะพร้าวและกะทิ
มะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้
2.2.2.1 มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก
ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด
เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย
2.2.2.2 มะพร้าวแก่
นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม
เช่นกล้วยบวชชี แกงบวดต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม
บัวลอย
2.2.3 น้ำตาล
แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใช้ทำขนมคือน้ำตาลจากตาลหรือมะพร้าว
ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง
2.2.4 ไข่
เริ่มเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส
ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น
ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม
2.2.5 ถั่วและงา
ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย
การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบได้ตั้งแต่สมัยอยุธยา
เช่นขนมภิมถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้
2.2.5.1 ถั่วเขียวเราะเปลือก
มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก
ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้างและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
2.2.5.2 ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด
และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
2.2.5.3 ถั่วลิสง ใช้น้อย
ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
2.2.5.4 งาขาวและงาดำ
ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น ขนมเทียนสลัดงา ขนมแดกงา
2.2.6 กล้วย
กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด
ไม่ว่าจะเป็น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น
ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า
กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น
กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น
2.2.7 สี
สีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้
2.2.7.1
สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
2.2.7.2
สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด
ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
2.2.7.3
สีเหลืองจากขมิ้นหรือหญ้าฝรั่ง
2.2.7.4
สีแดงจากครั่ง
2.2.7.5
สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง
2.2.8 กลิ่นหอม
กลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่
2.2.8.1 กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ
ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ
ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
2.2.8.2
กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม
ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
2.2.8.3
กลิ่นเทียนอบ จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ
วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
2.2.8.4
กลิ่นใบเตย หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม
2.3
การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
สื่อที่นิยมใช้ในงานประชาสัมพันธ์มากกว่าสื่ออื่นใด ในปัจจุบันนี้ก็คือ
สื่อวีดิทัศน์ วีดิทัศน์ หรือ วิดีโอ (Video) เป็นการนำเอาโทรทัศน์
(Television) หรือเนื้อหาทางวิชาการ นโยบาย
การประมวลกิจกรรมการดำเนินงาน มาจัดทำเป็นรายการสั้น ๆ ใช้เป็นสื่อเพื่อการนำเสนอ
การอธิบาย การสอน หรือเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งตามความต้องการของผู้ผลิต
วีดิทัศน์เป็นผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการทำงานอย่างมีระบบของคณะทำงาน
ซึ่งจะเรียกเป็นผู้ผลิต หน่วยผลิต ฝ่ายผลิต หรือบริษัทผลิตรายการ (Prodution
House) เพื่อให้ได้มาซึ่งงานวีดิทัศน์
ตามความประสงค์ของงานหรือองค์กร
กระบวนการดังกล่าวเรียกเป็นกระบวนการผลิตรายการซึ่งมีเทคนิคขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.3.1. การวางแผนการผลิต (Planning)
ในขั้นตอนนี้เป็นการระดมความคิด ความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ตั้งแต่ผู้ผลิตรายการ ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายเนื้อหา ผู้ออกแบบฉากเวที
และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชุมปรึกษาถึงประเด็นการผลิตรายการว่าจะผลิตให้ใครดู
หมายถึง กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ดู ผู้ชม และในการผลิตรายการนั้นจะแสดงถึงอะไรบ้าง
จะให้ผู้ชมได้รู้ ได้เห็นเกี่ยวกับอะไร ประเด็นสุดท้ายในการวางแผนก็คือ ผลิตรายการออกมาแล้วคาดหวังผลอย่างไร
หรือเพื่อจุดประสงค์อะไรบ้าง
2.3.2. การเขียนบท (Script)
บทโทรทัศน์ หรือ บทวีดิทัศน์
เป็นการนำเอาเนื้อหาเรื่องราวที่มีอยู่หรือจินตนาการขึ้นมา เพื่อการนำเสนอให้ผู้ดู
ผู้ชม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ผู้เขียนบทวีดิทัศน์ (Script
Writer) จึงจำเป็นต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ
มีความเข้าใจในธรรมชาติการรับรู้ของมนุษย์ ความศรัทธา สิ่งละอันพันละน้อย
ที่จะไปทำให้กระทบกระทั่ง หรือกระทำในสิ่งที่ผิดไปจากที่สังคมยอมรับ
บทวีดิทัศน์ควรจะมีการใช้ภาษาที่สละสลวย ชวนอ่าน ชวนฟัง มีการเกริ่นนำ
การดำเนินเรื่องและบทสรุปที่กระชับ สอดคล้องกัน รู้จักสอดแทรกมุขตลกเกร็ดความรู้
หรือเทคนิคแปลก ๆ มีลีลาที่น่าสนใจ เพื่อเป็นสีสันของเรื่องราว
การเขียนบทวีดิทัศน์จะมีทั้งการร่างบทวีดิทัศน์และการเขียนบทวีดิทัศน์ฉบับสมบูรณ์
ร่างบทโทรทัศน์เป็นการวางโครงเรื่อง (Plot) ของรายการแต่ละรายการ
ปกติจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเกริ่นนำ (Introduction)
เนื้อเรื่องหรือตัวเรื่อง (Body) และการสรุปหรือการส่งท้าย
(Conclusion) การเขียนร่างบทจะเป็นการกำหนดเรื่องราวที่นำเสนอ
นำเอาแก่นของเรื่อง (Theme) หรือความคิดรวบยอด (Concept)
ของเรื่องมาคลี่คลาย มาขยายให้เห็นอย่างเป็นขั้นตอน
มีการสอดแทรกอารมณ์ มีการหักมุม สร้างความฉงน นำเรื่องราวไปสู่จุดสุดยอด (Climax)
ให้ได้ดีที่สุดร่างบทวีดิทัศน์เขียนเป็นความเรียง ที่ใช้ภาษาสละสลวย
ทันสมัย สอดแทรกสาระ เกร็ดความรู้และสร้างความประทับใจ อาลัยอาวรณ์ ในที่สุด บทวีดิทัศน์ฉบับสมบูรณ์ (Full Script) หรือเรียกเป็นบทสำหรับถ่ายทำ (Shooting Script) เป็นการนำเอาร่างบทมาขยายอย่างละเอียด
ในลักษณะของการถ่ายทำ ซึ่งจะมีลักษณะของภาพขนาดของภาพ
กำหนดกล้องและการแสดงของผู้แสดง หรือ เหตุการณ์นั้น อย่างสมจริงคณะทำงาน
หรือผู้ผลิตรายการจะยึดการปฏิบัติงานตามบทวีดิทัศน์นี้
แต่ลักษณะที่เป็นจริงบทวีดิทัศน์อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบทบ้าง
ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์นั้น
2.3.3. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ (Preparation)
ในการเตรียมเพื่อการผลิตรายการนั้น
คณะทำงานจะเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีส่วนเอื้ออำนวยต่อการทำงาน เครื่องมือ
อุปกรณ์ ในการถ่ายทำ เตรียมสถานที่
เตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งพร้อมที่จะทำงานได้ทันทีในกรณีที่ มีการเสริมแต่ง
หรือแก้ไขปัญหาการถ่ายทำ เพราะความไม่พร้อมของเรื่องราวเหตุการณ์และสถานที่ยิ่งต้องมีการเตรียมสิ่งต่าง
ๆ เพื่อจำลองสถานการณ์ให้สมจริง เท่าที่จะทำได้ให้ดีที่สุด
2.3.4. การบันทึก (Recording)
กระบวนการถ่ายทำ จะดำเนินไปตามแผนที่ได้วางไว้ และถ่ายทำตามบท
โดยมุ่งให้ได้ภาพตรงตามความต้องการมากที่สุด อาจจะถ่ายทำหลาย ๆ ครั้ง
ในฉากใดฉากหนึ่ง เพื่อมาคัดเลือกหาภาพที่ดีในตอนจะตัดต่ออีกครั้งหนึ่ง
ในการบันทึกแบ่งเป็น
บันทึกภาพและบันทึกเสียงซึ่งการบันทึกภาพนั้นจะได้ทั้งภาพทั้งเสียงอยู่แล้ว
เมื่อตัดต่อสามารถเลือกได้ว่า ช่วงไหนจะใช้แต่ภาพ หรือใช้ทั้งภาพและเสียง
การบันทึกภาพ บันทึกหรือถ่ายทำตามสภาพความเป็นจริง และความจำเป็นก่อนหลัง
ไม่จำเป็นต้องเรียงฉาก ตามบทวีดิทัศน์ (Script) ในการบันทึกเสียง
จะบันทึกทั้งเสียงเหตุการณ์จริง เสียงสัมภาษณ์ เสียงสนทนา เสียงบรรยาย
เสียงเพลงประกอบ และเสียงเหตุการณ์หรือเสียงที่นำมาใช้เป็นเอฟเฟค (Sound Effect)
ให้เรื่องราวน่าสนใจซึ่งกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องเสียง
จะมีการผสมเสียงอีกครั้งหนึ่ง ในกระบวนการตัดต่อภาพและเสียง
ข้อสำคัญในการทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อวีดิทัศน์ในการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อจุดมุ่งหมายใด
ๆ ก็ตาม คณะทำงานควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้องาน นโยบายและกิจกรรมขององค์กร
พื้นฐานของงานโทรทัศน์ หรือ การทำวีดิทัศน์ไว้บ้าง เพื่อการสร้างงาน
การคิดสร้างสรรค์ จะได้หลากหลาย น่าสนใจ
และที่สำคัญจะช่วยให้งานดำเนินไปได้อย่างราบรื่น บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
สิ่งที่ควรรู้ ควรเข้าใจมีมากมาย อาทิ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เทคนิคกล้อง
ชนิดของภาพ การลำดับภาพและตัดต่อภาพ
การนำเสียงมาใช้ในงานวีดิทัศน์ตลอดจนการใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์
2.3.5
ข้อควรจำในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อวีดิทัศน์
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สื่อวีดิทัศน์ เป็นสื่อที่มีความพร้อมในลักษณะของมัลติมีเดีย
(Multimedia)
ซึ่งได้รวบรวมเอาความโดดเด่นของรูปแบบ
และแนวทางการนำเสนอที่สมบูรณ์ครบถ้วนไว้ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ
คอมพิวเตอร์กราฟิก และเทคนิคพิเศษอีกมากมายหน่วยงานหรือองค์กรใด
จะผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ นอกจากจะเข้าใจถึงคุณสมบัติที่น่าสนใจดังกล่าวแล้ว
ควรพิจารณาถึงประเด็นเรื่องราวต่าง ๆ เช่น
2.3.5.1 จะผลิตสื่อวีดิทัศน์ สำหรับกลุ่มเป้าหมายใด การผลิตวีดิทัศน์
ควรเลือกให้เหมาะกับกลุ่มผู้ดูผู้ชม เพราะเนื้อหาเรื่องราว จะมีความเข้มข้น
หรือละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกัน
2.3.5.2 การผลิตสื่อวิดิทัศน์ต้องการแสดงถึงเนื้อหาสาระมากน้อยแค่ไหน
ประเด็นของเรื่องราวหรือแก่นแท้ (Theme) จะแสดงถึงอะไรบ้าง
2.3.5.3 การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์นี้ คาดหวังผลอะไรบ้าง
ถ้าหากรู้ถึงวัตถุประสงค์หรือความคาดหวังถึงผลที่ได้จากสื่อที่ผลิต
จะช่วยให้เนื้อหาเรื่องราวในวีดิทัศน์ตรงประเด็นได้มากขึ้น
2.2.5.4
ในกระบวนการผลิตวีดิทัศน์ได้มีการประสานงานกับบุคลากรระดับสูงผู้บังคับบัญชา
หรือผู้เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดเพื่อความเข้าใจในเรื่องราวเพื่อความถูกต้องและการประสานสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
2.2.5.6 ผู้ผลิตควรเข้าใจถึงประเด็นในการทำวีดิทัศน์
ถึงความเหมาะสมของเรื่องราวความโดดเด่น หรือความน่าจะเป็นของการเลือกสิ่งที่นำเสนอ
ทั้งบุคลากร สถานที่กิจกรรมหรือเหตุการณ์ตลอดจนข้อมูลต่างๆ
พยายามหามุมมองที่มีคุณค่า เลือกสิ่งที่น่าสนใจออกมานำเสนอซึ่งบางครั้งอาจมีการเสริมแต่งบ้างก็ควรต้องเลือก
ต้องพยายาม เพื่อให้ได้สื่อวีดิทัศน์ที่น่าสนใจ
2.2.5.7 คณะทำงานควรเปิดใจกว้าง
ในการวิพากษ์และตรวจทาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น